ไอบีเอ็มประกาศลงนามในสัญญากับธนาคารโตเกียว- มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (บีทีเอ็มยู) เพื่อทดสอบการออกแบบ การจัดการ และการดำเนินการด้านสัญญาระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งทั้งสองบริษัทจะเริ่มต้นโครงการนำร่องในการนำบล็อกเชนมาทำให้การทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างทั้งสองบริษัทเป็นไปโดยอัตโนมัติ
นี่เป็นหนึ่งในโครงการแรกที่ถูกสร้างขึ้นบนแฟบริกของโครงการ Hyperledger Project ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบเปิดเผยซอร์สเพื่อใช้บล็อกเชนในการบริหารสัญญาที่ใช้งานจริงบน IBM Cloud
ไอบีเอ็ม และบีทีเอ็มยูได้สร้างต้นแบบของสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) บนบล็อกเชนเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ และความรับผิดชอบของข้อตกลงระดับการให้บริการในติดต่อทางธุรกิจกับหลายฝ่าย ธนาคารมีแผนจะเริ่มใช้ระบบดังกล่าวนี้ในการจัดการสัญญาที่ใช้ในธุรกิจของธนาคารในปี 2560 นอกจากนี้ไอบีเอ็ม และบีทีเอ็มยูยังมีจุดมุ่งหมายในการจัดการข้อตกลงระหว่างสองบริษัทด้วยระบบในปลายปี 2560 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ไอบีเอ็ม และบีทีเอ็มยูจะเฝ้าติดตามดูการจัดส่งและการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเซ็นเซอร์ที่ถูกฝังข้อมูลลงในบล็อกเชน ซึ่งนี่จะทำให้กระบวนการออกใบแจ้งหนี้ และชำระเงินระหว่างทั้งสองบริษัทเป็นไปโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันไอบีเอ็มก็ได้ประกาศเปิดตัว IBM Center for Blockchain Innovation ศูนย์วิจัยระดับโลกแห่งแรกในสิงคโปร์ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ และธนาคารกลางของประเทศสิงคโปร์ โดยศูนย์ที่ตั้งอยู่ที่วัตสันเซ็นเตอร์ที่มาริน่าเบย์แห่งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะขับเคลื่อนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศแนวหน้าด้านนวัตกรรมด้านการเงิน การค้า และการพาณิชย์ รวมถึงมีการสร้างให้เป็นศูนย์ระดับโลกสำหรับการเรียนรู้เชิงลึก ความเชี่ยวชาญ และความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านบล็อกเชน และเทคโนโลยีค็อกนิทีฟสำหรับองค์กร
ไอบีเอ็มกำลังเร่งขยายบริการให้คำปรึกษาด้านบล็อกเชน และมีความกระตือรือร้นในการทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่จะทำให้บล็อกเชนมีความพร้อมสำหรับธุรกิจ โดยผ่านทางการสนับสนุนการเปิดเผยซอร์ส Hyperledger Fabric และบริการบล็อกเชนบน IBM Bluemixซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น รวมถึงทำการทดสอบการรักษาความปลอดภัย ความพร้อมในการใช้งาน และประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายบล็อกเชนที่ได้รับการยินยอม ไอบีเอ็มกำลังพัฒนาวิทยาการด้านบล็อกเชนเพื่อช่วยขจัดความซับซ้อน และทำให้สามารถเข้าถึงได้ และเป็นแบบเปิดมากขึ้น บริการทางการเงิน, ซัพพลายเชน, IoT, การบริหารความเสี่ยง, การจัดการสิทธิ์ดิจิตอล และการดูแลสุขภาพคือบางส่วนของการดำเนินงาานที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากการใช้เครือข่ายบล็อกเชน
You must be logged in to post a comment.