You are here
Home > Top Story > 4 ขั้นตอนที่จะช่วยให้ธนาคารเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล

4 ขั้นตอนที่จะช่วยให้ธนาคารเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล

Finacle-Retail-Banking-1

ในช่วงนี้คำว่า “สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือยอมตาย” คงเหมาะกับอุตสาหกรรมการธนาคารมากที่สุด นั่นเป็นเหตุผลที่ธุรกิจทางการเงินต้องเผชิญกับความเป็นไปได้ว่าบริษัทดิจิตอลเกิดใหม่ทั้งหลายปาดหน้าเอาเค้กก้อนใหญ่ของพวกเขาไป (เช่นเดียวกับ Uber สำหรับธุรกิจรถแท็กซี่ และ Airbnb สำหรับธุรกิจโรงแรม) กำลังตรวจสอบแพลตฟอร์มแอพพลิเคชันของพันธมิตรรายที่สามหลายร้อยตัว

ตัวอย่างเช่นในด้านการให้กู้ยืมเงิน แพลตฟอร์มสำหรับผู้บริโภคใหม่ อย่าง Prosper, Lending Club และ Marlette Funding   ได้ทิ้งธนาคารแบบดั้งเดิมไปทันทีโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากระบบดิจิตอล

ในขณะที่ยุคของเฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์ได้นำความปรารถนาใหม่ๆ มาสู่ลูกค้าโดยการใช้สมาร์ทโฟนของพวกเขาทั้งในการติดต่อสื่อสาร และทำธุรกิจได้ทุกที่และทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ และพวกเขาคาดหวังว่าบริษัทที่พวกเขาทำธุรกิจด้วยจะก้าวตามทัน บริษัทต่างๆ ตระหนักดีว่าพวกเขาจำเป็นต้องเร่งความสามารถในการดึงดูดและรักษาลูกค้าเอาไว้

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลเชิงกลยุทธ์อย่างถูกต้องสามารถช่วยให้ธนาคารตอบสนองความต้องการของฐานลูกค้า ที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติให้กู้ยืมที่ช่วยให้พวกเขาที่จะนำเสนอผลประโยชน์ต่างๆ ให้ลูกค้าอย่างค่าธรรมเนียมที่ถูกลงง และอัตราดอกเบี้ยต่ำลง

จากประสบการณ์ในการทำงานร่มกับสถาบันการเงินลายๆ แห่ง เราพบการทำให้การเปลี่ยนผ่านจาากกระบวนการและระบบแบบเดิมไปเป็นโซลูชั่นดิจิตอลที่ทันสมัยได้อย่างราบรื่นประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1: ทำความเข้าใจความต้องการ และความจำเป็นของลูกค้า
เราอยู่ในโลกที่ผู้บริโภคคาดหวังว่าว่าจะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่มีคุณภาพสูงจากดิจิตอลแอพพลิเคชั่น และพวกเขาคาดหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้แอพเหล่านั้น หากพวกเขาไม่ได้รับสิ่งเหล่านั้น พวกเขาก็จะไม่ใช้งานแอพเหล่านั้น  หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญที่สุดซึ่งทำให้บางครั้งความล้มเหลวในการริเริ่มเกี่ยวกับระบบดิจิตอลเกิดจากธุรกิจละเลยที่จะทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ธนาคารควรใช้เวลาในการพูดคุยกับลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจจุดที่เป็นปัญหาสำหรับพวกเขา สำรวจประเภทของบริการดิจิตอลที่พวกเขาสนใจ และเรียนรู้วิธีที่พวกเขาจะใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันของพวกเขา

ขั้นตอนที่ 2:  พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของลูกค้า
ปัจจุบันหนึ่งในประโยชน์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิตอลก็คือการสร้างต้นแบบและนำไปให้ลูกค้าได้ทดลองใช้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ง่าย  ต้นแบบควรมีความสามารถอย่างเต็มเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ตั้งใจจะนำออกวางจำหน่ายเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถทดสอบการทำงาน และนักพัฒนาได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่นั้น ซึ่งการให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งานอย่างต่อเนื่องจะทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างชุดคุณสมบัติตามที่ได้รับแจ้งจากผู้ใช้งานเมื่อพวกเขาเริ่มเขียนโค้ดของซอฟต์แวร์จริงๆ

ขั้นตอนที่ 3: ใช้ทีมพัฒนาที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าจะอาศัยทีมงานภายใน หรือที่ปรึกษาจากภายนอก ธนาคารจะต้องใช้ประโยชน์จากการพัฒนาซ้ำได้อย่างรวดเร็วที่จะทำให้พวกเขาเปลี่ยนจากแนวคิดไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ภายในเวลาไม่กี่เดือนไม่ใช่เหมือนในอดีตที่ใช้เวลาหลายปีเกินไป และมีค่าใช้จ่ายหลายล้านดอลลาร์ แต่วันนี้ซอฟต์แวร์เครื่องมือใหม่ๆ และวิธีการที่คล่องตัวช่วยย่นระยะเวลาในการออกสู่ตลาด และลดความต้องการงบประมาณในการเปลี่ยนแปลงได้เป็นจำนวนมาก คุณสมบัติ และการทำงานซึ่งครั้งหนึ่งต้องมีการเขียนโค้ดหลายหมื่นขณะนี้สามารถเขียนได้ในบรรทัดเดียวเพื่อเรียกใช้แพ็คเกจที่มีอยู่ นอกจากนี้ นักพัฒนายังสามารถใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นในปัจจุบันที่หลายปีก่อนอาจต้องอาศัยการพัฒนาซอฟต์วร์ที่มีความซับซ้อนขึ้นมาเอง

ขั้นตอนที่ 4: ปล่อยผลิตภัณฑ์ดิจิตอลออกเป็นเฟส
ธนาคารไม่ควรรู้สึกว่าถูกกดดันในการปล่อยผลิตภัณฑ์เต็มรูปแบบให้กับลูกค้าทั้งหมดในวันเดียว คุณอาจต้องการที่จะเริ่มต้นกับพาวเวอร์ยูสเซอร์ หรือผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับในระยะของการทดลองใช้ ก่อนที่จะขยายไปยังฐานลูกค้าทั้งหมด

ข้อดีอย่างหนึ่งของแพลตฟอร์มออนไลน์คือสามารถเพิ่มคุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา เมื่อแนะนำสิ่งใหม่ๆ มันง่ายขึ้นสำหรับลูกค้าที่จะเข้าใจเพียงไม่กี่คุณสมบัติใหม่ในตอนแรก การเพิ่มคุณสมบัติอีกครั้งลูกค้าจะคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงในระยะเริ่มแรก ขั้นตอนนี้ยังช่วยให้นักพัฒนาสามารถศึกษาวิธีการที่ผู้ใช้โต้ตอบกับคุณสมบัติต่างๆ เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วยให้พวกเขาปรับคุณสมบัติตามได้

ธนาคารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแรกๆ ที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในปี 1960 และวันนี้ธุรกิจธนาคารก็เริ่มการปฏิวัติอีกครั้งโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล ดังนั้นขั้นตอนทั้ง 4 นี้สามารถช่วยให้คุณรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และก้าวไปข้างหน้าต่อไป

Top