You are here
Home > Investor > ยอดการทำข้อตกลงด้านฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พุ่ง 29%

ยอดการทำข้อตกลงด้านฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พุ่ง 29%

Southeast-Asia-Investment-Fintech-768x554

ในปี 2560 ที่ผ่านมาหลายประเทศในภูมิภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนการทำข้อตกลง  ด้านฟินเทคมากที่สุดซึ่งเป็นผลมาจากการแห่เข้ามาลงทุนของนักลงทุนทั่วไปในประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ไทย และเวียดนาม

ตามข้อมูลของ CB Insights ซึ่งเป็นผู้ติดตามการลงทุนระบุว่าปีที่ผ่านมาจำนวนของการลงทุนในบริษัทฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29  ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 55 ข้อตกลงในปี 2558 เป็น 71 ข้อตกลงในปี 2559 ขณะเดียวกันการลงทุนรวมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงร้อยละ 12 จาก 177 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558  เป็น 158  ล้านเหรียญสหรัฐในปีพ. ศ. 2559

กว่าครึ่งหนึ่งของข้อตกลงด้านฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดในปี  2559 เกิดจากสตาร์อัพที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์  ซึ่งประกอบด้วย Funding Societies ที่เป็นแพลตฟอร์มการกู้ยืมแบบบุคคลต่อบุคคลสำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางที่สามารถระดมทุน 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐในซีรีส์ A จาก Sequoia Capital India และ Alpha JWC Ventures และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ซึ่งคิดเป็นร้อย 14 ของข้อตกลงฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยอยู่ที่ร้อยละ 13 และอินโดนีเซียที่ร้อยละ 12 ตามลำดับ

ข้อตกลงที่ใหญ่ที่สุดในปี 2559 คือ MoMo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือของเวียดนามซึ่งเป็นของ M_Services ที่สามารถระดมทุนมูลค่า 28 ล้านเหรียญสหรัฐ ในซีรีส์  B จาก Goldman Sachs และ Standard Chartered Private Equity

สำหรับการลงทุนอื่นๆ ที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมาประกอบด้วยการลงทุนมูลค่า 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐใน  Omise ผู้ให้บริการด้านการชำระเงินในประเทศไทย  การลงทุนมูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐใน Coda Payments ผู้ให้บริการชำระเงินในสิงคโปร์ และการลงทุนมูลค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐใน Jirnexu ที่เป็นแพลตฟอร์มด้านการเปรียบเทียบทางการเงินของมาเลเซีย

นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมายังมีการระดมทุนซีรี่ส์ D เป็นครั้งแรกในเอเชียของ 2C2P ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านการเริ่มชำระเงินออนไลน์และโทรศัพท์มือถือโดยมีมูลค่าการลงทุนถึง 8 ล้านเหรียญสหรัฐ

สื่อมวลชนรายใหญ่ในสิงคโปร์รายงานว่าส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นความกระตือรือร้นของนักลงทุนที่มีต่อสตาร์ทอัพทางด้านเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วก็มาจากการที่ Garena สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากที่สุดในภูมิภาคนี้ได้ตั้งเป้าที่จะเปิดตัวการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งแรก (IPO) ในปลายปีนี้

Garena เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้บริโภคในสิงคโปร์ เป็นผู้นำในด้านคอมพิวเตอร์ออนไลน์และดิติคอลคอนเทนต์บนมือถือ อีคอมเมิร์ซ และการชำระเงิน ซึ่งให้บริการแก่ผู้ใช้หลายล้านคนทั่วเอเชีย

Garena มีมูลค่า 3.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับการสนับสนุนจาก Tencent ของจีนซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดของโลก รวมทั้ง  General Atlantic, Ontario Teachers’ Pension Plan และ Tovio Annus ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Skype ด้วย

บริษัทยังเปิดเผยว่าได้แต่งตั้งให้ Goldman Sachs เป็นที่ปรึกษาหลักและวางแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลากหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา

Jayson Chi อดีตหุ้นส่วนของ McKinsey ในฮ่องกงกล่าวว่า “ปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความน่าสนใจมาก”

Chi เผยต่อสื่อมวลชนรายใหญ่ว่า “บริษัทเหล่านี้ได้เงินจากนักลงทุนพร้อมกับแรงกดดันที่ทำให้พวกเขาคิดถึงการหาทางถอนตัวออกจากธุรกิจสตาร์ทอัพ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในด้านผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จากการศึกษาของกูเกิ้ลพบว่าเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของภูมิภาคนี้คาดว่าจะมีมูลค่า ราว 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 และเป็นผลที่เกิดการเติบโตของอีคอมเมิร์ซมากที่สุด

นอกจากนี้นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในฟินเทคยังมีส่วนสำคัญในการนำบริการทางการเงินไปสู่ประชาชนในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคาร

Garena ซึ่งต้นจากการเป็นแพลตฟอร์มเกม แต่ภายหลังได้เปิดตัวธุรกิจเพิ่มเติมอีก 3 ธุรกิจ ได้แก่ แอพแชท BeeTalk, ตลาดออนไลน์ Shopee และแพลตฟอร์มการชำระเงิน Airpay

จากการายงานของ CB Insights ระบุว่า East Ventures, 500 Startups และ Golden Gate Ventures คือ 3 นักลงทุนด้านฟินเทคที่มีบทบาทมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดย East Ventures ได้ลงทุนในบริษัทผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกในการซื้อขายหุ้นบนมือถือ  StockRadars    บริษัทซอฟต์แวร์บัญชีออนไลน์ของอินโดนีเซีย Jurnal  และบริษัทไทยซึ่งเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการจัดการชำระเงินแก่ธุรกิจต่างๆ  Omise

ส่วน 500 Startups มีการลงทุนในด้านต่างๆ เช่น ผู้ให้บริการแอพตรวจสอบ และแจ้งเตือนต่างๆ ทางการเงินแบบเรียลไทม์ของสิงคโปร์ละ Call Levels และ Omise ในขณะที่ Golden Gate Ventures ได้ลงทุนใน Filipino Ayannah  สตาร์ทอัพด้านการชำระเงินของสิงคโปร์ Codapay รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการให้คะแนนเครดิต Lenddo และพอร์ทับด้านการเงินส่วนบุคคล  MoneySmart  และอื่นๆ อีกหลายบริษัท

Top