You are here
Home > News > สถาบันการเงินโลกบุก”เมียนมาร์” ลงทุน FinTech

สถาบันการเงินโลกบุก”เมียนมาร์” ลงทุน FinTech

ธนาคารระดับโลกและนักลงทุนต่างประเทศบุกตลาดการเงินเมียนมาร์ โดยมองว่าเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยโอกาส ล่าสุดเป็นธนาคารแห่งชาติของแคนาดา ที่ลุยเข้าไปถือหุ้นธุรกิจสตาร์ทอัปด้าน Mobile Payment เบอร์ต้น ๆ ของเมียนมาร์ในชื่อ Ongo แล้วถึง 22 ล้านหุ้น

Yangon-Myanmar-1440x564_c

Louis Vachon ประธานและซีอีโอของธนาคารแห่งชาติแคนาดากล่าวว่า การลงทุนในสตาร์ทอัปฟินเทคนี้เป็นการทำผ่านธนาคารในเครืออย่างธนาคาร ABA ซึ่งตั้งอยู่ในกัมพูชา ซึ่งทางบริษัทแม่ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ Ongo ประสบความสำเร็จ

 

โดยความสามารถของแอปพลิเคชัน Ongo นั้น เป็นการช่วยให้บุคคลทั่วไปและบริษัทต่าง ๆ ในเมียนมาร์สามารถโอนเงินได้โดยตรงผ่านอุปกรณ์โมบายล์ รวมถึงสามารถจ่ายชำระค่าสินค้า และบริการได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังรองรับการโอนเงินแบบ Peer-to-Peer ได้ด้วย จึงทำให้มีบริษัทห้างร้านจำนวนมากเลือกใช้ Ongo ในการจ่ายเงินเดือน และการชำระค่าบริการแบบ B2B

 

ปัจจุบัน Ongo มีพนักงานกว่า 300 คนในกรุงย่างกุ้ง และคาดว่าจะขยายเป็น 500 คนภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งการลงทุนของธนาคารต่างประเทศอาจทำให้ Ongo เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในระยะต่อไปด้วย

 

นอกจาก Ongo แล้ว ยังมีฟินเทคจากสิงคโปร์อีกรายหนึ่งชื่อ OOjiBO ที่พัฒนาโซลูชันให้สามารถทำงานได้เหมือนธนาคารแต่อยู่บนโมบายล์โฟน ซึ่งทางบริษัทอ้างว่า แพลตฟอร์มของเขานั้นมีการทำธุรกรรมเฉลี่ยเดือนละ 100,000 Transactions และมีอัตราการเติบโตต่อเดือนถึง 30%

 

โดยทางบริษัทตั้งเป้าไว้่ว่าจะให้บริการแก่ผู้บริโภคถึง 1 ล้านคนภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อให้เมียนมาร์ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด

 

ด้านสถาบันการเงินในประเทศก็มีแผนปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้าเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น First Private Bank (FPB) ที่ได้ประกาศตัวว่าเลือก Misys FusionBanking เข้ามาช่วยปรับการทำงานของธนาคารให้ตอบรับความโมเดิร์น และความดิจิตอลมากขึ้น

 

อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่น่าสนใจคือ ไม่ถึง 25% ของคนวัยทำงานในเมียนมาร์ที่มีบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับสถาบันการเงินได้ดีทีเดียว

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารโลกก็ระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจของเมียนมาร์นั้นคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 7.1% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งตัวเลขนี้ทำให้ตลาดการเงินของเมียนมาร์เต็มไปด้วยธุรกิจต่าง ๆ จากต่างประเทศที่เข้ามาแข่งขัน โดยแต่ละรายต่างต้องการให้บริษัทของตนมีส่วนแบ่งที่มากขึ้นในธุรกิจค้าปลีก และธนาคารในเมียนมาร์กันทั้งสิ้น

 

ที่มา http://fintechnews.sg

Top