You are here
Home > Marketing > เปิด 6 คาดการณ์อนาคตวงการโฆษณาปี 2018

เปิด 6 คาดการณ์อนาคตวงการโฆษณาปี 2018

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น วงการโฆษณาเจอกับความท้าทายในเรื่องต่าง ๆ มากพอสมควร ทั้งประเด็นเรื่อง Brand Safety หรือการมาถึงของสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาพลิกโฉมหน้าของผู้บริโภคในการเชื่อมต่อกับแบรนด์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น นั่นจึงทำให้ปี 2018 กลายเป็นปีที่น่าตื่นเต้นทีเดียวว่าเราจะได้เห็นการสร้างสรรค์แคมเปญแบบใดออกมาจากนักการตลาดกันบ้าง และนี่คือการคาดการณ์ถึงเทรนด์และการพัฒนาที่อาจจะเกิดขึ้นในวงการโฆษณาปีหน้าใน 6 ด้าน

shutterstock_364987622-2
shutterstock

 

  1. Context คือหัวใจสำคัญ

ต้องยอมรับว่าปี 2017 เป็นปีที่แบรนด์ต่าง ๆ กังวลมากขึ้นว่าแบรนด์ของตัวเองจะไปปรากฎอยู่หน้าคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมบนโลกออนไลน์หรือไม่ ซึ่งความกังวลนี้ทำให้มีการพัฒนาอัลกอริธึมให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น เพื่อให้การแสดงผลนั้นเฉียบคม และปลอดภัยต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์

อย่างไรก็ดี ยังมีการพบว่าโฆษณาที่สามารถไปปรากฏในพื้นที่ที่เหมาะสมได้นั้นมีผลต่อการสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ให้ดีขึ้นได้ด้วย โดยมีผลวิจัยล่าสุดจาก Unruly  พบว่า การที่เว็บไซต์มีการปรับปรุงให้มีอัลกอริธึมที่ดีขึ้นนั้นสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมได้ถึง 13% เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ที่ไม่ได้เก่งกาจมากเท่า หรือทาง Neuro Insights ได้ทำการวิจัยพบด้วยว่า ในเว็บไซต์ที่พรีเมียมมาก ๆ นั้น สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้มากกว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียถึง 16% เลยทีเดียว

ในจุดนี้สะท้อนให้เห็นว่า บริบทโดยรวมนั้นมีความสำคัญกับการทำแคมเปญของแบรนด์มาก ซึ่งในบางเคสพบว่าสามารถยกระดับ Brand Metrics ได้ถึง 50% เลยด้วย และถ้านำเรื่องของบริบทดังกล่าวมารวมกับการทำ Audience Targeting แล้วเป็นไปได้ว่าจะทำให้แบรนด์ได้รับผลตอบรับที่ดีที่สุด ซึ่งคาดว่าจะเห็นนักการตลาดใช้แนวทางนี้มากขึ้นในปีต่อไป

 

  1. แบรนด์จะแข่งขันสร้างชื่อให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภค

ภาพรวมของการตลาดในปีหน้าเป็นเรื่องของการสั่งการด้วยเสียงที่จะมีเข้ามามากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านบรรดาลำโพงอัจฉริยะนั้น อาจเป็นการบอกสั้น ๆ แค่ว่า ช่วยสั่งซื้อแชมพูให้ด้วยขวดหนึ่ง ไม่มีการพูดชื่อแบรนด์ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของระบบอัจฉริยะที่จะไปค้นหามาเองว่า ที่ผ่านมาผู้บริโภครายนั้นเคยใช้ยาสระผมยี่ห้ออะไร

สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ แบรนด์จะเน้นการสร้างอารมณ์ร่วม สร้างความชอบใจในตัวสินค้าให้เกิดขึ้นก่อน เพื่อที่ว่า เวลาที่มีการพูดชื่อโปรดักซ์ที่จะสั่งซื้อ ผู้บริโภคจะได้พูดออกไปเลยว่า ให้ซื้อแบรนด์อะไร ไม่ใช่การปล่อยให้ระบบอัจฉริยะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกให้เองแบบที่ปรากฏ

โดยรูปแบบการสร้างความจดจำนี้ อาจทำได้โดยใช้ดนตรีเข้ามาช่วย เนื่องจากมหาวิทยาลัย Leicester สำรวจพบว่า ดนตรีสามารถช่วยเพิ่มการจดจำแบรนด์ได้มากขึ้นถึง 96% นั่นเอง หรือในอีกทางหนึ่งก็เป็นการให้เคล็ดลับต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยแบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกดีและจดจำได้

 

  1. จะมีการนำบล็อกเชนมาช่วยในการโฆษณาอย่างโปร่งใสมากขึ้น

เนื่องจากพื้นฐานของบล็อกเชนคือการสร้างความโปร่งใส ซึ่งในเชิงของนักการตลาดแล้ว มันช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ว่า โฆษณานี้ใครบ้างที่จะสามารถมองเห็นได้ และแต่ละคนเมื่อได้เห็นแล้ว มีแอคชั่นอะไรเกิดขึ้นตามมา

แต่ในแง่ของการป้องกันการฉ้อโกงนั้น ความเร็วจะเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ซึ่งปัจจุบัน บล็อกเชนสามารถรองรับ Transaction ได้ประมาณ 20 Transactions ต่อวินาทีเท่านั้น ซึ่งยังถือว่าช้าพอสมควร

 

  1. AR จะถูกใช้ในการขายจริงมากขึ้น

ในปี 2018 เราจะได้เห็นการพัฒนาแอปพลิเคชัน AR โดยแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับสินค้ามากขึ้นกว่าเดิม จากในปี 2017 ที่เราเห็นบริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์นำ AR มาให้ผู้บริโภคได้ทดลองแต่งบ้านด้วยสินค้าผ่าน AR จะได้ดูว่า สินค้านั้น ๆ เหมาะจะซื้อมาแต่งบ้านหรือไม่  หรือแบรนด์เครื่องสำอางที่นำ AR มาให้ผู้บริโภคได้ลองสีของเครื่องสำอางก่อนตัดสินใจซื้อจริง ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างความประทับใจได้ง่ายมากขึ้น และช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจากเดิมที่แบรนด์ต้องอาศัยโฆษณาเพื่อดึงคนเข้าร้าน แต่ด้วย AR บางทีแบรนด์สามารถปิดการขายได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านแต่อย่างใด

นอกจากนั้น เทคโนโลยี AR ยังมีผลดีสำหรับแบรนด์ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปิดตัวโปรดักซ์ใหม่ให้ได้ทดลองตลาด และประเมินความสนใจจากผู้บริโภค ก่อนจะลงทุนผลิตจริงด้วย โดยมีการคาดการณ์กันว่า ตลาดเทคโนโลยี AR นั้นจะมีมูลค่าถึง 61,300 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2023 (อ้างอิงจาก Research & Markets)

shutterstock_572620081-2
shutterstock
  1. แบรนด์ที่กล้าหาญจะได้ใจผู้บริโภค

แทนการเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ในมหกรรมกีฬาที่มีแพกเกจค่าเป็นสปอนเซอร์ที่สูงลิ่ว และงานมหกรรมกีฬาบางแห่งก็อาจมีแนวโน้มว่าจะไม่โปร่งใส ในปีหน้าเราจะได้เห็นแบรนด์ที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมในมหกรรมกีฬาเหล่านี้และหันมาใช้เทคโนโลยี programmatic ในการเผยแพร่คอนเทนต์ของแบรนด์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแทน

 

  1. งบด้าน VR จะเข้ามาอยู่ในการใช้จ่ายของแบรนด์มากขึ้น

ในปี 2018 จะมีการเปิดตัวอุปกรณ์ AR ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ออกมามากขึ้น และจะนำไปสู่การต่อสู้กันในแพลตฟอร์มใหม่นั่นก็คือแพลตฟอร์ม VR แต่ละบริษัทจะหันมาใส่ใจกับการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ เช่น เกม หรือภาพยนตร์ 360 องศากันมากขึ้น ซึ่งในฝั่งของบริษัทเทคโนโลยีอาจได้เห็นการพัฒนแพลตฟอร์มเพื่อให้แบรนด์ได้ซื้อโฆษณาและแทรกโฆษณาของแบรนด์ลงไปในเกม VR เพิ่มมากขึ้นด้วยนั่นเอง

shutterstock_660720016-2
shutterstock

 

ที่มา http://www.marketing-interactive.com/6-marketing-predictions-for-adland-in-2018/

Top