You are here
Home > News > Visa ระบุเอเชียแปซิฟิกขึ้นแท่นผู้นำโลกด้านสังคมไร้เงินสด พร้อมเน้นย้ำความปลอดภัยคือปัจจัยผลักดันหลัก

Visa ระบุเอเชียแปซิฟิกขึ้นแท่นผู้นำโลกด้านสังคมไร้เงินสด พร้อมเน้นย้ำความปลอดภัยคือปัจจัยผลักดันหลัก

งานประชุมสุดยอดความมั่นคงทางการรักษาความปลอดภัยในระบบชำระเงินของวีซ่า ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Visa Asia Pacific Security Summit) เน้นย้ำถึงความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยในระบบการชำระเงิน ในขณะที่ภูมิภาคกำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการชำระเงินรูปแบบดิจิตอลของโลก

 visa001

การขยายตัวของแหล่งชุมชน หรือ Urbanization และจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสองปัจจัยหลักที่ช่วยผลักดันให้การชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยครึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในหัวเมืองหลัก และมากกว่าสองในสาม (1.3 ล้านราย) จาก 1.9 พันล้านรายในเอเชียแปซิฟิกเข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน[1]

 

เอเชียแปซิฟิก มียอดปริมาณการชำระเงินมากถึง 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่ในปัจจุบันมากกว่าครึ่ง (55 เปอร์เซ็นต์) ของการทำธุระกรรมการชำระเงินในรูปแบบของเงินสด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีเงินกว่า 6.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอล[2]

 

ในขณะที่นวัตกรรมใหม่ๆได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างเสริมประสบการณ์การชำระเงินที่ดีให้กับผู้บริโภค แต่กระนั้นก็ตาม กุญแจสำคัญในการทำให้การชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลนั้นขยายวงกว้างออกไปคือการผนวกความปลอดภัยเข้ากับการใช้งานที่สะดวก ยิ่งระบบนิเวศของระบบการชำระเงินเติบโตเร็วเท่าใด ความปลอดภัยยิ่งต้องเข็มแข็งขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกันต้องไม่ส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายในการใช้งานต่อทั้งร้านค้าและผู้บริโภค

 

มร.โจ คันนิ่งแฮม ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการความเสี่ยงของวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ในอดีตนั้นความปลอดภัยในระบบการชำระเงินกับความสะดวกในการใช้งานเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกันในทางปฏิบัติ แต่ในปัจจุบันเรามาถึงจุดที่การรักษาความปลอดภัยถูกฝังอยู่ในกระบวนการ ความปลอดภัยนอกจากจะมาพร้อมกับความสะดวกสบายแล้ว ยังจะสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆได้อีกด้วย”

 

“วีซ่ามุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างให้ระบบปฏิบัติการของเรามีความปลอดภัยในระดับสูงสุด และผลักดันให้อุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากลทั่วโลก อาทิ ชิพการ์ด (อีเอ็มวี) โทเคนไนเซชั่น (Tokenization) และการเข้ารหัสข้อมูลแบบพ้อยท์ ทู พ้อยท์ (point-to-point encryption)”


สำหรับในประเทศไทยร้อยละ 75 ของการทำธุรกรรมยังคงเป็นในรูปแบบเงินสด[3] อย่างไรก็ดี ด้วยจำนวนของผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยีที่รองรับการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless payment) ที่แพร่หลายกว่าเดิม จะช่วยให้การชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การชำระเงินในซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านกาแฟ โรงภาพยนต์ เป็นต้น

 

[1] ที่มา World Bank World Development Indicators เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2560

[2] ที่มา:  การวิเคราะห์ข้อมูลของวีซ่า จาก สำนักวิจัยอ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิก, ผลวิจัย นีลเส็น, ยูโรมอนิเตอร์, Haver Analytics, ธนาคารแห่งประเทศไทย, ธนาคารกลาง ออสเตรเลีย (Reserve Bank of Australia), ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด, และ รายงานภาวะเศรษฐกิจนิวซีแลนด์

[3] ที่มา: ผลสำรวจ ยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล  พ.ศ. 2560

Top