Go-Jek บริษัทระดับยูนิคอร์นของอินโดนีเซียเพิ่งประกาศว่าพวกเขาจะร่วมมือกับบริษัทผู้ให้กู้เงินแบบบุคคลต่อบุคคล หรือ P2P (peer-to-peer) 3 รายคือ Findaya, Dana Cita และ Aktivaku.to ซึ่งทำให้บริษัทแห่งนี้กลายเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินรายใหญ่
การตัดสินใจที่จะเข้าร่วมธุรกิจกู้ยืมเงินถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งของตลาดอินโดนีเซีย เนื่องจากยังมีชุมชนขนาดใหญ่ยังไม่สามรถเข้าถึงบริการของธนาคารได้ แม้ว่าความพยายามของรัฐบาลในทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงจะมีความคืบหน้าไปมาก แต่นี่ถือเป็นการพัฒนาล่าสุด
ย้อนกลับไปในปี 2554 มีผู้ใหญ่ในอินโดนีเซียที่มีบัญชีธนาคารเพียงร้อยละ 20 ซึ่งการเงินการขาดขาดประวัติทางการเงินกับธนาคารนับอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้แม้วาจะมีขีดความสามารถในการชำระเงินกู้ได้ก็ตาม ขณะที่ชาวอินโดนีเซียที่ยากจนก็ไม่มีแหล่งเงินกู้ที่จะช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นจากวัฏจักรของความยากจนได้
นี่คือสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดธุรกิจ P2P ในอินโดนีเซียและช่วยให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2561 เงินให้กู้ยืมประเภทนี้มีมูลค่าสูงถึง 27.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
Modalku แพลตฟอร์มการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P รายใหญ่ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงมูลค่าของธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดีเพราะพวกเขาได้รับการบันทึกว่าเป็นแพลตฟอร์มให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ที่สามารถระดมทุนก้อนใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Softbank Ventures สูงถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ภูมิทัศน์ของอินโดนีเซีย
ด้วยความต้องการที่แท้จริงและภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยโอกาส ทำให้มีบริษัทที่ทำธุรกิจการให้กู้ยืมเงินแบบ P2Pโดยเฉพาะเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 40 แห่ง ขณะเดียวกันก็มีบริษัทหลอกลวงเกิดขึ้นมากมาย แต่บริการดังกล่าวก็ยังคงถูกมองว่าเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของชาวอินโดนีเซีย
ความนิยมของแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ขึ้นอยู่กับในประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม เพราะมีแพลตฟอร์มเหล่านี้เพียงไม่กี่รายที่สามารถคัดกรองเครดิตได้เร็ว และคิดมีดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคาร สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P คือความสามารถในการได้สินเชื่อวงเงินต่ำ ๆ ของบริษัทต่างๆ อย่างเช่น KoinWorks มีการปล่อยกู้ขั้นต่ำที่ 100,000 รูเปียห์
บริการดังกล่าวนี้มักไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน และสามารถส่งเอกสารได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับเวลาทำการของธนาคาร
เป็นที่น่าสังเกตว่านักวิเคราะห์ได้เตือนว่าหากธุรกิจนี้จะเดินหน้าต่อไป ควรมีการพัฒนากระบวนการประเมินเครดิตที่ถูกต้องมากขึ้น และดูเหมือนว่าบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านนี้จำเป็นต้องพัฒนาระบบนี้ขึ้นมาให้ครบถ้วน
นอกจากนี้การที่ธุรกิจให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ดึงดูดให้ผู้ให้กู้สามารถเก็บรวบรวมผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น และเพิ่มความมั่งคั่งของตัวเองได้ก็ทำให้แพลตฟอร์มการให้กู้ยืมส่วนใหญ่มีความเสี่ยง
กฎระเบียบ
เพียง 2 ปีที่ผ่านมาบริการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่กฎระเบียบเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ยังค่อนข้างหละหลวม
อาจกล่าวได้ว่าทั้งปริมาณและความนิยมของแพลตฟอร์มเหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวผลักดันให้ OJK หน่วยงานด้านการดูแลการให้บริการทางการเงินของอินโดนีเซียสร้างแซนด์บ็อกซ์ด้านกฏระเบียบขึ้นมาสำหรับบริการให้กู้ยืมออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ในประเทศอินโดนีเซียถูกแยกออกจากธุรกิจฟินเทคประเภทอื่น ๆ
ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลยังได้รับประโยชน์จากธุรกิจดังกล่าวนี้ เพราะหลายคนที่กู้ยืมเงินจากแพลตฟอร์มเหล่านี้นำเงินที่ได้ไปใช้ในการทำธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
บางส่วนของระเบียบที่ออกโดย OJK กำหนดให้ผู้ให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ต้องยื่นเรื่องขอใบอนุญาต นอกจากนี้หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลยังระบุด้วยว่า สตาร์ทอัพที่จะขอรับใบอนุญาตเพื่อทำธุรกิจด้านนี้ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 200,000 เหรียญ และสามารถปล่อยเงินกู้สูงสุดได้เพียง 150,000 เหรียญเท่านั้น
การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบใบอนุญาตอาจช่วยให้บริษัทให้กู้ยืมเงินเหล่านี้อยู่รอดในอินโดนีเซียได้ เพราะ OJK พบว่ามีบริษัทสตาร์อัพด้านการให้กู้ยืมออนไลน์ผิดกฏหมายไม่น้อยกว่า 227 ราย
แต่กฎระเบียบนี้ควรเป็นแค่จุดเริ่มต้นในบทบาทของ OJK กับการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P และไม่ได้ให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้งในส่วนของการพัฒนา และควบคุมในส่วนนี้ บางทีหน่วยงานกำกับดูแลเองก็ก็ต้องอนุญาตให้สตาร์ทอัพด้านการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ทำธุรกิจได้เพื่อช่วยให้พวกเขาเติบโตขึ้น
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อชาวอินโดนีเซียมีความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงิน
ด้วยความพยายามของอินโดนีเซียในการวิ่งตามแนวโน้มของสังคมไร้เงินสด และการกระจายการเข้าถึงแหล่งเงินของประเทศจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารโลกระบุว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในการช่วยเหลือประชากรที่เข้าไม่ถึงบริการของธนาคาร
จำนวนของผู้ใหญ่ที่มีบัญชีธนาคารได้เพิ่มขึ้นจากในปี 2554 ที่คิดเป็นร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 49 ในปี 2560 แต่ตัวเลขนี้ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันธุรกิจให้กู้ยืมเงินแบบ P2P นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้ชาวอินโดนีเซียสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ ในขณะที่รัฐบาลกำลังพยายามกระจายการเข้าถึงแหล่งเงินให้กว้างขวางมากขึ้น แต่เราคงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะคนส่วนใหญ่ยังคงต้องพัฒนาประวัติทางการเงินผ่านธนาคาร ซึ่งจะเป็นจุดจบของการให้กู้ยืมเงินแบบ P2P
เราคิดว่าทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยที่สำคัญ คือ
บริษัทให้กู้ยืมเงินแบบ P2P มีมูลค่ามากกว่าการให้ยืมเงินหรือไม่?
ธนาคารสามารถคิดค้นและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านสินเชื่อของตนได้อย่างรวดเร็วเพื่อแย่งชิงตลาดมาจากบริษัทให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ได้หรือไม่?
การให้กู้ยืมยังคงเป็นธุรกิจย่อยน้องใหม่ในประเทศ ซึ่งหมายความว่าพวกเขามีความคล่องตัวมากกว่าและสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจของตนได้อย่างรวดเร็ วหรือสร้างพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์ได้ง่าย
รวมตัวกับธนาคาร
แนวโน้มของฟินเทคทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงความคล่องตัวและความสามารถในการการแข่งขันของธุรกิจฟินเทค ซึ่งในที่สุดจะร่วมมือกับธนาคารที่พวกเขาเคยพยายามจะเข้ามาแทนที่มาก่อน สิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อธนาคารพยายามที่จะคิดค้นนวัตกรรม และตระหนักว่าการดึงเอาบริการที่อยู่ตัวแล้ว แทนที่เริ่มใหม่ตั้งแต่ต้นด้วยตัวเอ ขณะเดียวกัน บริษัทฟินเทคล่อใจโดยการระดมทุนก้อนใหญ่ และหาโอกาสในการเข้าถึธุรกิจในระดับองค์กรขนากใหญ่
Amartha ซึ่งเป็นบริษัทให้กู้ยืมเงินแบบ P2P ที่เริ่มต้นจากการเป็นสถาบันด้านการให้ยืมแบบกลุ่มได้ร่วมมือกับธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BNI) และอาจเป็นหนึ่งในผู้นำในการปูทางสู่การรวมธุรกิจกันในอนาคต
หรืออินโดนีเซียสามารถพัฒนาระบบการให้กู้ยีมเงินขนาดใหญ่เป็นของตัวเองได้
สถานการณ์หลายอย่างที่นำไปสู่การร่วมตัวของธนาคารและฟินเทคเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ที่ธนาคารมีสถานะที่มีนัยสำคัญเหนือประชาชน ดังนั้นพิจารณาจากประชากรกลุ่มที่เข้าถึงบริการของธนาคารได้ค่อนข้างน้อย และขาดประวัติการเงิน เป็นไปได้ว่าบริการของฟินเทคอาจจะแซงหน้าธนาคารในแผนกให้กู้ยืม
สถาบันการเงินของจีนเปลี่ยนแปลงไปเมื่อกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาททางการเงินในประเทศ การเติบโตของบริษัทต่างๆ อย่าง Tencent และ Alibaba ซึ่งกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ และอยู่ในฐานะที่พร้อมสำหรับใช้ประโยชน์จากโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Silk Road Initative) ที่รัฐบาลจีนริเริ่ม และดำเนินการอยู่
ในทางเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ว่าบริษัทสัญชาติอินโดนีเซียจะก้าวขึ้นเป็นบริษัทฟินเทคยักษ์ใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย
ด้วยเหตุนี้ หากเราพิจารณาจากสิ่งที่เกิดก่อนหน้านี้ในประเทศจีน Go-Jek ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะเติมบทบาทนี้ในอินโดนีเซีย ทั้ง Alibaba และ WeChat ก็เริ่มต้นจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซและการรับส่งข้อความแบบทันทีตามลำดับก่อนที่จะเปลี่ยนไปสู่การทำระเป๋าเงินดิจิตอลและประสบความสำเร็จ
เนื่องจากการให้กู้ยืมเป็นสิ่งที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผู้เล่นที่มีอยู่อย่าง Modalku ซึ่งมีเงินทุนสนับสนุนจำนวนมากจะครองตลาดได้โดยไม่คำนึงถึงความหลากหลายในการให้บริการ และทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้ง่าย
ที่มา: http://fintechnews.sg/23780/indonesia/go-jek-p2p-lending-in-indonesia/
You must be logged in to post a comment.