เมื่อพูดถึงธุรกิจสตาร์ตอัประดับ “ยูนิคอร์น” จะหมายถึงธุรกิจที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 30,000 ล้านบาท ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสตาร์ตอัปเหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจแค่ 3-5 ปีเท่านั้น จากข้อมูลล่าสุดซึ่งมีการรวบรวมเมื่อเดือนสิงหาคม 2018 ระบุว่า ทั่วโลกจะมีสตาร์ตอัประดับยูนิคอร์นอยู่ราว 266 บริษัท อันดับหนึ่งของโลกได้แก่ Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Alibaba Group ขณะที่ในอาเซียนจะมีอยู่ 8 บริษัท กระจายอยู่ใน 5 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศไทย แม้จะมีสตาร์ตอัปที่มาแรงและมีชื่อเสียงอยู่หลายบริษัท แต่ก็ยังอยู่ในระดับร้อยล้าน ถือว่ายังต้องใช้เวลาอีกพอสมควรเพื่อก้าวสู่ระดับหมื่นล้าน นอกจากนี้ด้วยข้อจำกัดด้านกฎระเบียบการลงทุนและดำเนินธุรกิจของประเทศไทย ทำให้การที่สตาร์ทอัปสัญชาติไทยจะก้าวขึ้นไปสู่ระดับยูนิคอร์นอาจเป็นไปได้ลำบาก
ว่าแต่สตาร์ตอัประดับยูนิคอร์น ในอาเซียนมีใครบ้างมาดูกัน
GRAB (มาเลเซีย/สิงคโปร์)
มูลค่า 6,000 ล้านเหรียญ
สตาร์ตอัปซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของคนไทยเป็นอย่างดี เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียกแท็กซี่ยากในมาเลเซีย
SEA (สิงคโปร์)
มูลค่า 4,500 ล้านเหรียญ
ชื่ออาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าเดิมคือบริษัทเกมออนไลน์ชื่อดัง Garena นั่นเอง
GO-JEK (อินโดนีเซีย)
มูลค่า 3,000 ล้านเหรียญ
อีกหนึ่งสตาร์ตอัปที่ให้บริการเรียกรถ โดยเกิดจากความต้องการยกมาตรฐานมอเตอร์ไซค์รับจ้างของอินโดนีเซียให้ดีขึ้น
TRAVELOKA (อินโดนีเซีย)
มูลค่า 2,000 ล้านเหรียญ
ให้บริการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม ไอเดียก่อตั้งเกิดจากความยุ่งยากในการจองตั๋วเครื่องบินกลับอินโดนีเซีย และไม่มีใครรวบรวมข้อมูลเอาไว้
VNG (เวียดนาม)
มูลค่า 1,500 ล้านเหรียญ
ดำเนินธุรกิจเกมออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เป็นสตาร์ตอัปยุคบุกเบิกของอาเซียน ก่อตั้งเมื่อปี 2004
TOKOPEDIA (อินโดนีเซีย)
มูลค่า 1,200 ล้านเหรียญ
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ดำเนินธุรกิจในลักษณะ C2C เช่นเดียวกับ Taobao ของ Alibaba ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนก้อนโตถึง 1,000 ล้านเหรียญจาก Alibaba Group
BUKALAPAK (อินโดนีเซีย)
มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญ
สตาร์ตอัปอีคอมเมิร์ซชื่อดังอีกรายจากอินโดนีเซีย
REVOLUTION PRECRAFTED (ฟิลิปปินส์)
มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญ
หนึ่งเดียวของสตาร์ตอัป Property Tech จากฟิลิปปินส์ ดำเนินธุรกิจรับสร้างบ้านโดยผสานเทคโนโลยี Prefabricated Building ซึ่งจะผลิตชิ้นส่วนแต่ละชิ้นให้สำเร็จ ก่อนจะนำมาประกอบกันที่หน้างาน เข้ากับรูปแบบบ้านที่หลากหลายจากนักออกแบบระดับโลก ทำให้เป็นบริษัทที่น่าจับตามอง
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากนิตยสาร
You must be logged in to post a comment.