จากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 รัฐบาลต่างหาหนทางในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ฝ่ายภาคประชาชนเองก็ตั้งตอรอมาตรการต่าง ๆ ที่จะเข้ามาจุนเจือในยามเศรษฐกิจถดถอย หลายคนโดนเลิกจ้าง ตกงาน ลดเงินเดือน แน่นอนว่า ด้วยงบต่าง ๆ ที่รอการอนุมัติ และงบที่ประชาชนเฝ้ารอ เป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เรามาดูกันว่า งบประมาณ หรือเงินทุนเหล่านี้มาจากที่ใด
โดยทางกระทรวงการคลังได้ออกมาเผยถึงมูลค่าสำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในครั้งนี้ ถึง 6.11 แสนล้านบาทโดยจำแนกว่างบประมาณเหล่านี้มาจาก
- งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ในส่วนของงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน จำนวน 1.4 แสนล้านบาท
- งบประมาณจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ที่ยังเหลืออยู่ จำนวน 4.71 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการ และอยู่ในระหว่างจัดทำมาตรการเยียวยาเพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้อย่างเหมาะสม
จะเห็นได้ว่าขณะนี้มีมาตราการต่าง ๆ ที่ภาครัฐ และภาคเอกชนบางส่วนได้ร่วมมือกันออกมาตรการมาเพื่อบรรเทาผู้ได้รับผลกระทบโดยสรุปคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
1.ลดค่าน้ำ ลดร้อยละ 10 กำหนดระยะเวลา 2 เดือน กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564
2.ช่วยค่าไฟ เวลา 2 เดือน กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564
- ช่วยค่าอินเทอร์เน็ต ในครัวเรือน
- จัดตั้งโครงการเราไม่ทิ้งกัน ช่วยเหลือ 3,500 บาท ติดต่อกัน 2 เดือน
- เตรียมเปิด ลงทะเบียน โครงการ “คนละครึ่ง” รอบเก็บตก
และ 6. ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรรายละ 3,500 บาท ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน
โดยการอนุมัติมาตราการเหล่านี้ หากมีอะไรเพิ่มเติมทาง Thaifintech จะมานำสรุป และนำเสนอต่อไป
SOURCE : https://www.bangkokbiznews.com/